วันนี้ข้าพเจ้าแปลเรื่องราวจากหนังสือ The Buddha And His Teachings ผลงานท่าน Narada Thera ตอนที่ไม่ยาว...
แต่เรียบเรียงและอ่านทวนอยู่นานมาก เพราะเป็นเรื่องที่อย่าว่าแต่คุณโยมๆทั้งหลายเลย พระสงฆ์หลายๆรูป(ข้าพเจ้าเป็นหัวแถวเลยทีเดียว)...ก็เข้าใจยาก
และอธิบายยากอีกเหมือนกัน....นั่นคือเรื่องของการที่"กรรม"ส่งผลข้าม"ชาติภพ"ที่มีความตายมาคั่นอยู่ตรงกลางได้อย่างไร....
แล้วยังมีประเด็นเชิงศีลธรรมว่าถ้าเราจำกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อนไม่ได้แล้วผลมาแตกโป๊ะ...ตรงหน้าเราเอาในชาตินี้แล้วมันยุติธรรมกะเราไหมเนี่ย...
ตอนอ่านน่ะสนุก แต่ตอนจะถ่ายทอดนี่....ข้าพเจ้าก็ลำบากใจอยู่เหมือนกัน
อย่างไรก็ตาม ขึ้นขี่ม้าแล้วจะลงเอากลางทางก็ใช่ที่....ข้าพเจ้าขอเสนอบทความที่แปลจากตอนหนึ่งในหนังสือดังกล่าวข้างต้นนั้น
ในบทที่ชื่อว่า Moral Responsibility หรือในพากย์ไทยว่า "ความรับผิดชอบทางศีลธรรม " ให้ท่านพิจารณา
ถ้าไม่เข้าใจ...โทษข้าพเจ้า เพราะพระอาจารย์นารทเถระท่านเขียนไว้ของท่านดีเหลือเกิน เข้าใจได้ชัดเจนสมเหตุสมผลแจ่มแจ้งแล้ว
ขอเชิญท่านลองค่อยๆอ่าน(แล้วก็ถ้าจะติก็ค่อยๆตินะ...พอเป็นแรงใจให้ทำงานต่อ) ได้ ณ บัดเดี๋ยวนี้ ......!!!
ความรับผิดชอบด้านศีลธรรม
"ตนทำตนให้หมองเอง
ตนทำตนให้บริสุทธิ์เอง"
(ธรรมบท)
เมื่อมีการถือกำเนิดเกิดขึ้นมา...นั่นจะนับว่าเป็นผู้นั้นรับผลที่ตนกระทำไว้เองหรือว่าเป็นผลที่ผู้อื่นต้องมารับ..?
การกล่าวว่าบุคคลผู้หว่านพืชนั้นก็คือผู้ที่รับผลนั้นโดยลำพังชนิดเบ็ดเสร็จก็จะเป็นการกล่าวชนิดที่สุดขั้วเกินไป และหากกล่าวว่าบุคคลผู้หว่าน จะเป็นคนละคนกับผู้ได้รับผลเลยทีเดียวก็จะสุดขั้วไปอีกทางหนึ่งเช่นกัน
เพื่อเลี่ยงแนวคิดที่จะพาไปไกลจนสุดขั้วทั้งสองข้างเช่นที่ว่านี้พระ พุทธเจ้าทรงสอนเรื่องทางสายกลางในรูปของเหตุปัจจัยและผล "ไม่ใช่เหมือนกันกับทั้งไม่ใช่อีกอย่าง" คือสิ่งที่ท่านอาจารย์พุทธโฆษกล่าวไว้
ใน "วิสุทธิมรรค" ซึ่งสามารถใช้การพัฒนาการของผีเสื้อมาใช้บรรยายพอให้เกิดภาพได้
เริ่มต้นจากเป็นไข่ จากนั้นจะกลายเป็นตัวหนอน ขั้นต่อไปตัวหนอนจะกลายเป็นดักแด้และท้ายที่สุดจึงกลายเป็นผีเสื้อ กระบวนการเช่นนี้ ปรากฎอยู่ตลอดช่วงชีวิตคน ผีเสื้อไม่ใช่ทั้งสิ่งเดียวกันทั้งไม่ใช่สิ่งอื่นโดยสิ้นเชิงกับรูปแบบต่างๆเช่น ตัวหนอน นี่ก็เช่นเดียวกันกับกระบวนการ เปลี่ยนแปลงไปของชีวิตที่ดำเนินอย่างต่อเนื่อง
พระอาจารย์นาคเสนได้อธิบายประเด็นนี้โดยการยกเอาภาพของตะเกียงที่จุดไว้ทั้งคืนมาเทียบ เปลวไฟแรกของตะเกียงที่เห็นไม่ใช่สิ่งเดียวกับ เปลวสุดท้ายที่มองเห็น ทั้งๆที่ตลอดทั้งคืนนั้นเปลวไปก็ลุกโพลงอยู่บนตะเกียงอันเดิมอันเดียวกันนั่นเอง เปลวไฟตะเกียงที่ลุกต่อเนื่องกันก็เป็น เช่นเดียวกับความต่อเนื่องของชีวิต แต่ละช่วงขณะที่ดำเนินไปตามๆกันนั้นก็สืบต่อมาจากช่วงขณะก่อนหน้านั้นนั่นเอง
แล้ววิญญาณล่ะมีหรือไม่ ความรับผิดชอบในทางศีลธรรมอีกเล่าจะมีอยู่ได้หรือ.....?
คำตอบคือ ใช่ เพราะมีการสืบเนื่องหรือความเป็นหนึ่งเดียวกันของทั้งกระบวนการ ซึ่งเป็นการเข้ามาแทนที่กันโดยคุณสมบัติที่ไม่ต่างจากเดิม
จากเด็ก...ถ้าหากยกตัวอย่าง...ก็จะกลายเป็นผู้ใหญ่ สภาวะหลังคือผู้ใหญ่ทั้งไม่ใช่สิ่งเดียวกันโดยแท้กับสภาวะแรกคือเด็ก ด้วยเซลต่างๆก็ได้ เปลี่ยนแปรไป ทั้งยังไม่ใช่คนละสิ่งโดยสิ้นเชิง ด้วยว่าเป็นการต่อเนื่องของชีวิตหนึ่งเดียว แม้กระนั้นบุคคลหนึ่งเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็ต้องรับ ผิดชอบกับอะไรก้ตามแต่ที่เขากระทำไว้เมื่อเป็นเด็ก ไม่ว่าบนความสืบเนื่องนั้นจะผ่านการตายแล้วเกิดใหม่ที่ไหน หรือต่อเนื่องไปในชีวิตเดิมก็ ตาม
ปัจจัยสำคัญของเรื่องก็อยู่ที่การสืบสานไปอย่างต่อเนื่อง สมมติว่าบุคคล A ในการเกิดครั้งก่อนได้มาเป็นบุคคล B ในการเกิดชาตินี้ การ ตายของ A จัดเป็นปัจจัยทางกายภาพ เป็นการแสดงว่าพลังของกรรมที่ได้หยุดลงไป โดยที่การถือกำเนิดของ B ก็คือปัจจัยทางกายภาพที่เกิด ขึ้นใหม่ ทั้งๆที่สภาพที่เป็นวัตถุเปลี่ยนไป แต่กระแสสำนึกที่สืบต่อ(จิตตสันตติ)อันมองไม่เห็น ก็ยังคงไหลเคลื่อนต่อไปโดยไม่ถูกการตายมา กีดกั้น พร้อมทั้งนำพารอยประทับทั้งสิ้นทั้งมวลในสำนึกตามติดไปด้วย
เช่นนั้นแล้วจะกล่าวอย่างเป็นทางการได้ไหมว่า ไม่ใช่ว่า B จะต้องมารับผิดชอบการกระทำของ A ในชาติปางก่อน....?
บางทีอาจมองตรงนี้ว่ามันไม่เรื่องความทรงจำที่สืบเนื่องติดตามผ่านพ้นความตายไปด้วยนี่นา....
แต่ว่าลักษณะเฉพาะหรือความทางจำนั้น ถือเป็นสาระสำคัญในการพิจารณาเรื่องความรับผิดชอบทางศีลธรรมด้วยหรือ...?
คำตอบชัดๆเลยก็คือ... ไม่เลย
ยกตัวอย่างถ้าคนก่ออาชญากรรมแล้วเกิดสูญเสียความจำไป เหตุการณ์ทั้งหมดนั้นจะถูกลืมไปด้วยหรือ เขาจะไม่ต้องรับผิดชอบการกระทำ หรือไร...
การจำไม่ได้ของเขาไม่อาจนำมาเป็นเหตุให้ละเว้นเขาจากความรับผิดชอบนั้นได้ ในกรณีนี้บางคนอาจว่า "แล้วจะลงโทษเขาอย่างไรดีล่ะ เพราะเขาก็ไม่รู้อยู่ดีว่านี่คือโทษของการก่ออาชญากรรม แล้วมันจะมีความยุติธรรมอยู่หรือ"
แน่นอนว่ามันไม่มีความยุติธรรมเลยหากเราอยู่ภายใต้การปกครองตามอำเภอใจขององค์เทพผู้ทรงใช้การให้รางวัลและการทำโทษเป็นเครื่อง มือบังคับบัญชาเรา
ชาวพุทธนั้นเชื่อในกฎแห่งกรรมอันเป็นเหตุเป็นผลซึ่งดำเนินไปโดยอัตโนมัติซึ่งสามารถจะพูดถึงได้โดยใช้หลักเหตุปัจจัยกับผล แทนการมอง เป็นเรื่องของการให้รางวัลและการทำโทษ
พระภิกษุศีลาจารได้กล่าวว่า " หากบุคคลทำการใดในขณะที่หลับ เช่นลุกจากที่นอนแล้วเดินตกจากเฉลียงลงไป เขาก็จะตกลงไปยังถนนข้าง ล่างและอาจจะมีอาการแขนหรือขาหัก แต่นั่นไม่ใช่การลงโทษสำหรับการละเมอเดิน แต่นั่นเป็นเพียงผลของมันเท่านั้นเอง ความจริงแล้วก็คือ ที่เขาจำไม่ได้เรื่องที่เขาเดินตกจากเฉลียงไม่มีผลแตกต่างกันเลยจากการที่เขาพลัดตกลงไปโดยรู้สึกตัว...ซึ่งผลของมันก้คือกระดูกหัก ดังนั้น พุทธศาสนิกจึงถือเป็นหลักการที่จะพิจารณากรณีนี้ว่า เขาจะไม่เดินตกจากเฉลียงหรือที่อันตรายอื่นใดทั้งสิ้นไม่ว่าหลับหรือตื่น พร้อมทั้งระมัด ระวังที่จะไม่ทำร้ายตนเองหรือคนอื่นที่อาจอยู่ข้างล่างซึ่งอาจโดนเขาตกลงไปทับด้วย"
ความเป็นจริงที่ว่าบุคคลไม่มีความทรงจำเรื่องในอดีตจึงไม่เป็นปัญหาอันใดสำหรับการอาศัยปัญญาทำความเข้าใจเรื่องการทำงานของกฎแห่ง กรรม
ความเข้าใจถึงลำดับขั้นตอนที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ของกระแสแห่งกรรมในสังสารวัฏของชีวิตดังนี้เอง ที่ช่วยหล่อหลอมเป็นบุคลิก ลักษณะของชาวพุทธ
จบไปข้างบนนั่นคือเนื้อหา ข้างล่างต่อแต่นี้ไปคือน้ำจิ้ม(ไม่อ่านก็ได้) .....
ท่านอธิบายว่ากรรมเมื่อทำแล้วย่อมตามให้ผลโดยไม่เกี่ยวข้องว่าจะตายไปเกิดใหม่ที่ไหนแล้วจดจำได้หรือไม่ว่าเคยได้ทำกรรมอะไรมาก่อน...ด้วยมันเป็นเช่นนั้น และเป็นความยุติธรรมตามหลักของธรรมชาติ(ธรรมะ)
ซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้.....
ที่สำคัญสุดสำหรับข้าพเจ้าคือ ท่าทีของคนเราต่อการมองเรื่องกรรม-วิบาก(แปลว่าผลของกรรม)อย่างไรนี่สำคัญสุด เพราะเราเอามาใช้ได้ในตอนนี้เลย เหมือนตอนทีี่่ท่านเทียบกับคนละเมอเดิน ในฐานะคนพุทธเราควรมองว่าทำเช่นนี้ให้ผลอย่างไร ถ้าไม่ดี...ไม่ว่าจะต่อตัวเองคนเดียวหรือต่อคนอื่นๆด้วย ก็ระวังไม่ทำเช่นนั้น
หรือถ้าไปรู้ตัวตอนที่ลงมือทำไปแล้วก็พยายามชะลอหรือหยุดหรือพยายามที่จะเบียดเบียนใครต่อใครให้น้อยที่สุด....และอะไรที่ทำไปแล้ว ผลมันก็รออยู่แล้วจะแก้ไขอะไรก็ไม่ทันแล้ว ก็เดินหน้าต่อไปด้วยความระมัดระวังเพิ่มขึ้น
ข้าพเจ้าว่าดีสำหรับคนที่มีความรับผิดชอบ....เพราะเราไปโทษใครไม่ได้เลยเมื่อยามที่กรรมให้ผล
เพราะมันเกิดจากเราทั้งนั้นนนนนนน.......
บุญ-บาป จึงเป็นเรื่องที่ไม่มีใครทำให้ใครได้เลย...อยากได้บุญก็ต้องทำบุญเอง อยากได้บาปก็เชิญทำบาปเอง
ดีแล้วนะข้าพเจ้าว่าน่ะ.....เหมือนอาหารบุฟเฟต์ไง ตักมาเองแล้วมาบ่นว่าไม่อร่อยหรือกินไม่หมด
มันก็จะไปโทษใครได้ล่ะ...จริงไหมล่ะท่าน :)
ลิงค์ถาวร